• เบื่ออาหารภาวะยอดฮิตของผู้สูงอายุ
    เบื่ออาหารภาวะยอดฮิตของผู้สูงอายุ

              ภาวะเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งจากสภาพร่างกาย และสภาพแวดล้อมรอบตัว ได้แก่

    1. ระบบย่อยอาหารทำงานลดลง อิ่มเร็ว แน่นท้องง่าย ร่วมกับท้องผูกได้ง่าย
    2. ยาหลายอย่างมีผลข้างเคียง ทำให้เบื่ออาหาร
    3. เป็นอาการของโรคที่ซ่อนอยู่ เช่น โรคนิ่ว โรคไต โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า
    4. ปัญหาช่องปาก ปากแห้ง รับรสไม่ดี ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร ทานได้แต่อาหารอ่อน
    5. ภาวะทางจิตใจ ความรู้สึก เบื่อหน่าย ท้อแท้ เหงา เศร้า กินข้าวคนเดียว ทำให้ไม่อยากทานอาหาร
    6. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ไม่สามารถออกไปเลือกซื้ออาหารเองได้ ความยากจน

              ภาวะเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด กล้ามเนื้อแขนขาลีบจนทรงตัวได้ไม่ดี เกิดการหกล้ม ทำให้เกิดกระดูกหักได้ เมื่อขาดสารอาหารหนักขึ้น อาจนำไปสู่ความผิดปกติของระบบเลือด ภูมิคุ้มกัน ความจำ กระดูก รวมถึงการฟื้นตัวหลังเจ็บป่วย

    แหล่งที่มา : รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

  • ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ
    ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ

    1. กลุ่มอาการเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานและไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วน

    2. ปัญหาระบบประสาท และสมอง สมองจะฝ่อลง ตามอายุที่มากขึ้น ซึ่งแสดงอาการได้หลายอย่าง เช่น ความจำไม่ดี อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า นิสัยเปลี่ยนไป การเคลื่อนไหวไม่ดี การทรงตัวไม่ดี หูตึง มองไม่ชัดเจน เป็นต้น

    3. ปัญหาระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย มีปัญหาฟันหลุดร่วงตามวัย ทำให้รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ ลิ้นรับรสได้น้อยลง จึงเบื่ออาหาร กระเพาะอาหารไม่ค่อยยืดหยุ่น ทำให้อิ่มเร็ว พบปัญหาท้องผูกได้ง่าย

    4. ปัญหากระดูกและข้อเสื่อม ใช้งานข้อมากเกินไป เช่น แม่บ้านมีภาวะกระดูกบาง และการเสื่อมของข้อ จากการที่ต้องทำความสะอาด ต้องใช้มือบ่อย ๆ

    5. กลุ่มอาการผู้สูงอายุ เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และพบเฉพาะในผู้สูงวัย เช่น การหกล้ม เดินลำบาก ปัสสาวะเล็ดราด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า มวลกล้ามเนื้อพร่อง ฯลฯ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ

              ผู้สูงอายุควรหมั่นสังเกตตัวเองและใส่ใจสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคและชะลอความเสื่อมที่อาจตามมากับอายุที่มากขึ้น

    แหล่งที่มา : รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

  • โรคปากนกกระจอกในวัยเก๋า

    โรคปากนกกระจอกหรือแผลที่มุมปากเป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย เกิดได้จากหลายสาเหตุ สำหรับวัยเก๋า ปัญหาช่องปากอย่าง “การสูญเสียฟัน” หรือ “ฟันด้านบดเคี้ยวสึก”  ก็อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้

    โรคปากนกกระจอก

    สาเหตุที่พบบ่อย

    1.   ปากแห้ง เลียปากบ่อย ๆ ทำให้มีน้ำลายหมักหมมบริเวณมุมปาก เชื้อราเติบโตได้ดี

    2.   การสูญเสียฟัน/ฟันด้านบดเคี้ยวสึกรุนแรง การสูญเสียฟันหลายซี่ (โดยเฉพาะฟันกราม) และไม่ใส่ฟันทดแทน หรือมีฟันด้านบดเคี้ยวสึกรุนแรงทั้งปาก นอกจากจะทำให้มีใบหน้าสั้น   ลงแล้ว ยังทำให้มุมปากตก น้ำลายสะสมบริเวณมุมปาก และเกิดโรคปากนกกระจอกได้

    3.   เชื้อราในช่องปากหรือที่มุมปาก ทำให้เกิดการระคายเคือง/อักเสบบริเวณมุมปาก ทั้งนี้ นอกจากเชื้อราแล้ว เชื้อแบคทีเรีย หรือแม้แต่ไวรัสบางชนิด เช่น เริม ก็ทำให้เกิดโรคได้ เช่นกัน

    4.   การขาดวิตามินบี 2 หรือธาตุเหล็ก ทำให้ริมฝีปากแห้งแตก มุมปากซีดและแตกเป็นรอย   

    อาการ

          1.   คัน แสบ เจ็บเวลาอ้าปาก        

          2.   มุมปากซีด เปื่อยยุ่ย

          3.   มีตุ่มพองใสบริเวณมุมปาก

          4.   มีแผลแตกเป็นร่องที่มุมปาก อาจเกิดเป็นสะเก็ดแผล

          5.   กรณีรุนแรงอาจมีเลือดออกที่แผลเมื่อขยับหรืออ้าปาก

    วิธีป้องกัน

    1. เช็ดน้ำลายที่มุมปากให้แห้งอยู่เสมอ
    2. ไม่กัดหรือเลียริมฝีปาก
    3. ทาลิปมันหรือปิโตรเลียมเจลลี่เมื่อรู้สึกปากแห้ง
    4. ดูแลช่องปากและฟันทดแทนให้สะอาด
    5. กินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 2 เช่น ปลา ตับ ถั่ว ผักใบเขียว ฯลฯ และธาตุเหล็ก เช่น ตับ เนื้อแดง ใบกระเพรา ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ ฯลฯ

    กรณีมีอาการผิดปกติ รู้สึกไม่สบาย หรือเจ็บปวดมาก ๆ แนะนำให้พบทันตแพทย์ค่ะ

    แหล่งที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

  • วิธีการล้างผักและผลไม้ ให้ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยง ของการมีสารเคมีตกค้าง
    ดินดี ผักงาม อาหารอร่อย

    ผักและผลไม้เป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหารและสารเคมีต่างๆ แม้ว่าผักและผลไม้จะเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคกังวลก็คือสารเคมีกำจัดแมลงที่ตกค้างอยู่ในผักและผลไม้ ดังนั้น เรามี 5 วิธีในการล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารตกค้างของสารเคมีและยาฆ่าแมลง ดังนี้

    วิธีที่ 1 การใช้ผงฟู (baking soda)  à ลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 80 – 95%

    -ใช้ผงฟู(baking soda) 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำอุณหภูมิปกติ 1 กะละมัง หรือปริมาตร 20 ลิตร

    -แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 15 นาที

    -ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด

     วิธีที่ 2 การใช้น้ำไหลผ่าน à ลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 54-63 %

    -เด็ดผักออกเป็นใบๆ

    -ล้างด้วยน้ำสะอาดไหลผ่านอย่างต่อเนื่อง และใช้มือถูเบาๆ

     วิธีที่ 3 การใช้ด่างทับทิม à ลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 35-45 %

    -ใช้ด่างทับทิมปริมาณ 20 – 30 เกล็ด ละลายในน้ำอุณหภูมิปกติ ปริมาตร 4 ลิตร

    -แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 10 นาที

    -ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด

    วิธีที่ 4 การใช้น้ำส้มสายชู à ลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 29-38 %

    -ใช้น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ ปริมาตร 4 ลิตร

    -แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 10 นาที

    -ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด

    วิธีที่ 5 การใช้เกลือ à ลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 27-38 %

    -ใช้เกลือป่นปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำอุณหภูมิปกติ ปริมาตร 4 ลิตร

    -แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 10 นาที

    -ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาดแหล่งที่มา : งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

  • กินเพลิน เจริญตา พาจำดี มีพลัง

    การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น
    โดยเฉพาะผู้สูงวัยซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานและสารอาหารแตก
    ต่างจากวัยทำงานเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของระบบต่างๆ

    โภชนบัญญัติ 9 ประการสำหรับผู้สูงอายุ

    1. กินอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
    2. กินข้าวเป็นหลัก เน้นข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อย
    3. กินพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลให้มากเป็นประจำ
    4. กินปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมันถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นประจำ
    5. ดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประจำ
    6. หลีกเลี่ยงอาหาร ไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
    7. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน
    8. กินอาหารสะอาด ปลอดภัย
    9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    10. กินเพลิน เจริญตา พาจำดี มีพลัง

    กินเพลิน
    สร้างบรรยากาศการรับประทานอาหารให้อร่อย ด้วยการรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น ร่วมกันปรุงประกอบอาหาร เปลี่ยนบรรยากาศรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือไปเที่ยวทั้งครอบครัวเป็นบางโอกาส

    เจริญตา
    เลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน เอ บี1 บี12 ซี อี ลูทีน ซีแซนทีน ซิลิเนียม และสังกะสี ซึ่งช่วยในการทำงานของจอประสาทตาชะลอการเกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งพบใน ตำลึง ฟักทอง กะหล่ำดอก ผักบุ้ง บร็อคโคลี แครอท ข้าวโพด ฝรั่ง ส้ม มะละกอ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ตับ ไข่ หอยนางรม ปลา นม และน้ำมันพืช เป็นต้น

    พาจำดี
    บำรุงสมองและระบบประสาทป้องกันการชาตามปลายมือปลายเท้า
    ด้วยการรับประทานอาหารที่มี กรดไขมัน โอเมก้า3 สารสื่อประสาทโคลิน เลซิตินและวิตามินบีต่างๆ ได้แก่ บี1 บี6 และบี12 เป็นต้น ซึ่งพบใน ปลาทะเลน้ำลึก ใบแปะก๊วย ไข่แดง กล้วย ถั่วเหลืองและข้าวกล้อง เป็นต้น

    มีพลัง
    ผู้สูงอายุ ต้องการพลังงาน 1,400 ถึง 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน ซึ่งควรเสริมสร้างกล้ามเนื้อและชะลอความเสื่อมของกระดูก ด้วยการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน แคลเซียม วิตามินดี เค และแมกนีเซียม ซึ่งพบใน นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม เต้าหู้แข็ง ปลาเล็กปลาน้อย และงาดำ เป็นต้น เลือกรับประทานโปรตีนที่ดี เช่น ปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำย่อยง่าย ถั่วและธัญพืชต่างๆ

    รับประทานให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ไม่รับประทานของซ้ำๆเดิมๆ มีปริมาณที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันตามตารางแนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ เพียงเท่านี้ผู้สูงอายุก็จะมีภาวะโภชนาการที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรงต่อสู้กับการเสื่อมถอยของร่างกายได้เป็นอย่างดี

    ด้วยความปราถนาดีจาก
    บางกอก แคร์ เนอสซิ่งโฮม (Bangkok Care Nursing Home – BCNH)
    ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นและกายภาพบำบัด

    ปรึกษาสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
    เบอร์ : 0813413044
    ทัก Line : https://line.me/ti/p/5JoIZHVICN
    Facebook : https://www.facebook.com/Bangkokcarenursinghome.BCNH
    ที่ตั้งใจกลางเมือง : ” โชคชัย4 ซอย84 แยก3 เขตลาดพร้าว ”
    (สถานีรถไฟฟ้าเสนานิคม)
    แผนที่ คลิก : https://maps.app.goo.gl/Txa9DJ3zgWbZuQKX7

    เรามีความมุ่งมั่นที่จะดูแลคนที่คุณรักให้ดีที่สุด …
    “เพราะเราคือครอบครัว”

  • เทคนิคลดเค็ม

    สำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูง เป็นโรคไต และทุกคนที่อยากให้ไตแข็งแรง — ลดเกลือ ลดเค็ม ลดความเสื่อมของไต ด้วยเทคนิคง่ายๆดังนี้

    อาหารที่มีโซเดียมสูง

    1.เลือกทานอาหารที่มีหลายรสชาติ เช่น หวาน เปรี้ยว เผ็ด เพื่อช่วยเพิ่มรสชาติ

    2.ลดการใช้เครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมสูง

    3.ทานอาหารสดใหม่แทนอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป ขนมที่มีการเติมผงฟู

    4.ตรวจดูปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคที่ฉลากสินค้า

    5.เปลี่ยนพฤติกรรมการปรุง ไม่ควร “ปรุงก่อนชิม” แต่ควร “ชิมก่อนปรุง”

    “ปริมาณเกลือที่ควรได้รับ ไม่เกิน 5 กรัม/วัน หรือไม่เกิน 1 ช้อนชา/วัน

    (ปริมาณโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม)”

    แหล่งที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

    ด้วยความปราถนาดีจาก

    บางกอก แคร์ เนอสซิ่งโฮม (Bangkok Care Nursing Home – BCNH)

    ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นและกายภาพบำบัด

    ??ติดต่อสอบถาม

    ️ เบอร์    :  0813413044

    Line ID      :  https://line.me/ti/p/5JoIZHVICN

    Facebook  :  https://www.facebook.com/Bangkokcarenursinghome.BCNH

    Website     :  www.bangkokcarenursinghome.com

    ?ที่ตั้งใจกลางเมือง : ” โชคชัย4 ซอย84 แยก3 เขตลาดพร้าว ” (สถานีรถไฟฟ้าเสนานิคม)

  • โรคไต … คืออะไร?

                  ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองกำลังเป็นโรค เนื่องจากไม่มีอาการแสดง ดังนั้นการตรวจพบและรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนและการเสียชีวิตได้

                ก่อนที่เราจะทำความรู้จักโรคไต เรามารู้จัก “ไต” ของเรากันก่อนดีกว่า

    ไตคืออะไร

    ไต (Kidney)

                ไต เป็นอวัยวะสำคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ รูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว ไตมี 2 ชิ้น อยู่บริเวณบั้นเอวทั้งสองข้าง รับเลือดจากหลอดเลือดเข้ามาที่ไตโดยผ่านหน่วยไตเล็กๆ (Nephron) ข้างละกว่า 1 ล้านหน่วยไต เพื่อกรองและดึงของเสียออกมาในรูปแบบปัสสาวะ

    หน้าที่ของไต

    1.ปรับสมดุลเกลือแร่และกรดด่าง

    2.ปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย

    3.สร้างฮอร์โมนสำคัญ เช่น ฮอร์โมนอิริโทรพอยอีติน สำหรับกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง

       ฮอร์โมนเรนิน เพื่อช่วยควบคุมความดันโลหิตของร่างกาย

    4.กำจัดของเสียออกจากร่างกาย

                เราจะเห็นได้ว่าไตมีความสำคัญมาก หากการทำงานของไตมีความผิดปกติ จะเรียกว่าเกิดโรคไต

    โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease : CKD)

                เกิดจากสภาวะที่ไตถูกทำลายเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน จนไม่สามารถกลับฟื้นคืนสภาพ ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานของไตลดลง แบ่งเป็น 5 ระยะ ตามความรุนแรงของโรค ในคนไทย 8 คน จะพบป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง 1 คน

    โรคไตเรื้อรัง

    ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง

    โรคไตเรื้อรัง

    1.โรคความดันโลหิตสูง

    2.โรคเบาหวาน

    3.อายุ > 60 ปี

    4.คนในครอบครัวเป็นโรคไต

    5.ทานยากลุ่มยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เป็นประจำ

    6.มีประวัติเป็นโรคไตและทางเดินปัสสาวะ

                หากมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ โดยแพทย์จะทำการตรวจปัสสาวะ เพื่อหาระดับโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ และตรวจเลือด เพื่อคำนวณอัตราการกรองของไต

                โรคไตเป็นโรคที่ป้องกันได้ ในเบื้องต้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง ซึ่งพบในอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส ซอสมะเขือเทศ น้ำปลา เครื่องดื่มเกลือแร่ ขนม เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น

    แหล่งที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

    ด้วยความปราถนาดีจาก

    บางกอก แคร์ เนอสซิ่งโฮม (Bangkok Care Nursing Home – BCNH)

    ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นและกายภาพบำบัด

    ??ติดต่อสอบถาม

    ️ เบอร์    :  0813413044

    Line ID      :  https://line.me/ti/p/5JoIZHVICN

    Facebook  :  https://www.facebook.com/Bangkokcarenursinghome.BCNH

    Website     :  www.bangkokcarenursinghome.com

    ?ที่ตั้งใจกลางเมือง : ” โชคชัย4 ซอย84 แยก3 เขตลาดพร้าว ” (สถานีรถไฟฟ้าเสนานิคม)

  • อัลไซเมอร์…โรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยสุด !!

                โรคสมองเสื่อม มีหลายภาวะ  บางกรณีอาจเกิดจากเนื้องอกในสมอง  การติดเชื้อในสมอง  น้ำในสมองมากเกินไป ฯลฯ ทำให้หลอดเลือดตีบตัน 

                ซึ่งโรคอัลไซเมอร์คือ  ภาวะสมองเสื่อมประเภทหนึ่งที่พบบ่อยสุด  ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของสมรรถภาพสมอง  ทำให้ความสามารถทางการรับรู้และเข้าใจลดลง เกิดความบกพร่องทางด้านความจำ  ภาษา  สมาธิ  การแก้ปัญหา  ดังนั้นภาวะสมองเสื่อมจึงควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้ชัดเจน เพื่อการดูแลรักษาที่ตรงสาเหตุ

    โรคสมองเสื่อม ป้องกันได้

    อาการโรคสมองเสื่อม

    • ความจำระยะสั้นไม่ดี
    • มีภาวะซึมเศร้า
    • อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียว หงุดหงิด
    • การใช้ภาษาบกพร่อง
    • ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบกพร่อง เช่น การปรุงอาหาร  การจ่ายเงินซื้อของ  สับสนทิศทาง เก็บของผิดที่

    ปัจจัยเสี่ยง..เกิดโรคสมองเสื่อม

    1. อายุ ยิ่งอายุมาก ยิ่งเสี่ยง
    2. โรค เป็นโรคเบาหวาน เสี่ยงเพิ่ม 2 เท่า
    3. ออกกำลังกาย ไม่ออกกำลังกาย เพิ่มความเสี่ยง

    พฤติกรรมสุขภาพ..ป้องกันโรคสมองเสื่อม

    1. ออกกำลังกาย อย่างน้อย 3-5 วัน/สัปดาห์  ครั้งละ 30 นาที  ลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้ 36% โดยการ เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน กีฬาประเภทต่างๆ หรือเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน
    2. อาหาร รับประทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม ข้าว 1 จาน ควรประกอบด้วย

              โปรตีน เนื้อสัตว์ ไข่   1 ใน 4

              คาร์โบไฮเดรต           1 ใน 4

              ผักผลไม้                  2 ใน 4      

    • ไม่สูบบุหรี่
    • ไม่ดื่มเหล้า

    แหล่งที่มา : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) Health Systems Research Institute (HSRI)

    ด้วยความปราถนาดีจาก

    บางกอก แคร์ เนอสซิ่งโฮม (Bangkok Care Nursing Home – BCNH)

    ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นและกายภาพบำบัด

    ??ติดต่อสอบถาม

    ️ เบอร์    :  0813413044

    Line ID      :  https://line.me/ti/p/5JoIZHVICN

    Facebook  :  https://www.facebook.com/Bangkokcarenursinghome.BCNH

    Website     :  www.bangkokcarenursinghome.com

    ?ที่ตั้งใจกลางเมือง : ” โชคชัย4 ซอย84 แยก3 เขตลาดพร้าว ” (สถานีรถไฟฟ้าเสนานิคม)

  • การดูแลผู้สูงอายุช่วงโควิด

    ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงหากได้รับเชื้อโควิด เราควรมีวิธีดูแลผู้สูงอายุอย่างไรเพื่อให้คนที่เรารักปลอดภัยจากโควิดกันนะคะ

    การดูแลผู้สูงอายุช่วงโควิด
    1. หมั่นสังเกตอาการ ผู้สูงอายุ หากผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที สังเกตด้าน
      -การช่วงเหลือตัวเองลดลง
      -ซึม/สับสนในเวลาอันสั้น
      -ผู้ได้รับเชื้อบางคนอาจไม่มีไข้
    2. อย่าลืมให้ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
    3. ถ้าผู้สูงอายุจำเป็นต้องอยู่ในที่แออัดให้ใส่หน้ากากอนามัย
    4. ล้างมือผู้สูงอายุบ่อยๆอย่างถูกวิธีด้วยสบู่ / แอลกอฮอล์เจล อย่างน้อย 20 วินาที
    5. ระวังผู้สูงอายุพลัดตกหกล้ม
    6. ระวังผู้สูงอายุความป่วยทางจิตใจ ซึมเศร้า เหงา เครียด วิตกกังวล เป็นโอกาสดีที่ลูกหลาน ที่ได้ทำงานที่บ้านจะได้ใกล้ชิดและให้ข้อมูลโรคอย่างถูกต้องกับผู้สูงอายุ

    แหล่งที่มา : คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา

    ด้วยความปราถนาดีจาก

    บางกอก แคร์ เนอสซิ่งโฮม (Bangkok Care Nursing Home – BCNH)

    ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นและกายภาพบำบัด

    ??ติดต่อสอบถาม

    ️ เบอร์    :  0813413044

    Line ID      :  https://line.me/ti/p/5JoIZHVICN

    Facebook  :  https://www.facebook.com/Bangkokcarenursinghome.BCNH

    Website     :  www.bangkokcarenursinghome.com

    ?ที่ตั้งใจกลางเมือง : ” โชคชัย4 ซอย84 แยก3 เขตลาดพร้าว ” (สถานีรถไฟฟ้าเสนานิคม)

  • ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวรับมือ เมื่อมีโรคความดันโลหิตสูง

    โรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ในระยะแรกที่โรคยังไม่รุนแรงผู้สูงอายุจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ที่เด่นชัด ผู้สูงอายุอาจมีอาการเวียนศีรษะเป็นๆ หายๆ หลังจากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดบริเวณท้ายทอยช่วงเช้าหลังตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียน โดยไม่ทราบสาเหตุ หากผู้สูงอายุเป็นมากจะมีเลือดกำเดาไหล หอบ นอนราบไม่ได้ และอาจมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย

    สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

                สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ร้อยละ 95 จะตรวจไม่พบสาเหตุ แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุ ได้แก่ ความอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีความดันโลหิตสูงมาก่อน ส่วนผู้ป่วยอีกร้อยละ 5 มีสาเหตุที่แพทย์ตรวจพบ เช่น โรคไต โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบประสาท การได้รับสารเคมีหรือยาบางชนิด


              การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ ได้แก่

    1.รักษาด้วยการไม่ใช้ยา โดยผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ไม่ทานอาหารเค็ม ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดความอ้วน งดสูบบุหรี่ ลดแอลกอฮอล์ ตลอดจนการฝึกสมาธิ ฝึกจิตไม่ให้เครียด

    2.รักษาด้วยการใช้ยา ผู้ป่วยและผู้สูงอายุต้องไม่หยุดยาเอง ยกเว้นเมื่อทานยาลดความดันโลหิตที่เพิ่งได้มาใหม่แล้วมีอาการไม่สบาย โดยเฉพาะมึนงง หน้ามืดเวลาลุกขึ้นยืน ควรหยุดยาแล้วไปพบแพทย์ เพื่อปรับเปลี่ยนยาใหม่ 


              ผู้สูงอายุควรปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง ดังนี้

    1. ผู้สูงอายุควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ได้แก่

    – ควบคุมน้ำหนักร่างกายให้พอดี

    – ออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น เดินเร็วก้าวยาวๆ ท่าบริหารร่างกายแบบง่ายๆ ควรเริ่มต้น

      ทีละน้อยและหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่ข้อต่อต่างๆ

    – ลดอาหารเค็ม

    – ทำจิตใจให้ผ่องใส ปล่อยวาง เพื่อลดความเครียด

    – งดสูบบุหรี่เด็ดขาด เพราะบุหรี่จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน

    – งดดื่มเหล้า เพราะแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

    – นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

    2.ผู้สูงอายุควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด ไม่ควรปรับหรือหยุดยาเอง

    หากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพที่แข็งแรง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆจากโรคความดันโลหิตสูงได้ เช่น ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ/แตก

    ด้วยความปราถนาดีจาก

    บางกอก แคร์ เนอสซิ่งโฮม (Bangkok Care Nursing Home – BCNH)

    ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นและกายภาพบำบัด

    ??ติดต่อสอบถาม

    ️ เบอร์    :  0813413044

    Line ID      :  https://line.me/ti/p/5JoIZHVICN

    Facebook  :  https://www.facebook.com/Bangkokcarenursinghome.BCNH

    Website     :  www.bangkokcarenursinghome.com

    ?ที่ตั้งใจกลางเมือง : ” โชคชัย4 ซอย84 แยก3 เขตลาดพร้าว ” (สถานีรถไฟฟ้าเสนานิคม)

    https://maps.app.goo.gl/Txa9DJ3zgWbZuQKX7

    เรามีความมุ่งมั่นที่จะดูแลคนที่คุณรักให้ดีที่สุด …  “เพราะเราคือครอบครัว”

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์